เบรกลม (Air power brake system) เป็นระบบเบรกที่ออกแบบใช้กับรถบรรทุกขนาดใหญ่ รถพ่วงและรถหัวลาก หลักการทำงานของเบรกลมใช้แรงดันลมอัดจากปั้มลม โดยใช้อุปกรณ์ควบคุมแรงดันและให้แรงดันไหลผ่านไปยังหม้อลมเบรกเพื่อดันให้เพลาลูกเบี้ยวบิดตัว ผลจากการที่เพลาลูกเบี้ยวบิดตัวทำให้ฝักเบรกถ่างออกเพื่อต้านการหมุนของจานเบรก หลักการทำงานของเบรกลมมีดังนี้
เมื่อสตาร์ทเครื่องยนต์ ปั๊มลมซึ่งขับโดยเครื่องยนต์จะสร้างแรงดันลม ทำให้ลมถูกอัดขึ้นโดยปั๊มลม ไหลผ่านไปยังกาวานาเพื่อควบคุมแรงดันลมให้อยู่ระหว่าง 7.0 - 8.5 บาร์ จากนั้นลมจึงไหลผ่านกรองดักความชื้นและเข้าไปบรรจุในถังลม
เมื่อเหยียบแป้นเบรก ลิ้นเหยียบเบรกจะเปิดทำให้ลมจากถังลมไหลผ่านลิ้นเหยียบเบรกไปดันแผ่นไดอะแฟรมในกระบอกเบรกให้เลื่อนไปข้างหน้า ผลจากการที่แผ่นไดอะแฟรมถูกดันให้เลื่อนไปข้างหน้าทำให้เพลาลูกเบี้ยวบิดตัวเพื่อถ่างฝักเบรกออกสัมผัสกับจานเบรก ความฝืดที่เกิดขึ้นระหว่างผ้าเบรกและจานเบรกทำให้รถบรรทุกชะลอความเร็วหรือหยุดได้ ระบบเบรกสามารถแบ่งออกได้ตามประเภทการออกแบบ โดยมี 2 ลักษณะ ดังนี้
1. รถยนต์ประเภทแบบมีเครื่องยนต์
รถบรรทุกประเภทที่มีเครื่องยนต์นี้ จะมีแหล่งกำเนิดแรงดันระบบลมจากปั๊มลม โดยปั๊มลมสามารถสร้างแรงดันลมด้วยการหมุนขับของเครื่องยนต์
อุปกรณ์ที่สำคัญในการให้กำเนิดแรงดันลม และอุปกรณ์ระบบเบรก ได้แก่
ปั๊มลมและระบบจัดการลม
ถังลม
วาล์วควบคุมแรงดัน (Protection valve)
วาล์วสั่งงานระบบเบรก (ขาเหยียบเบรก)
วาล์วรับคำสั่งระบบเบรก (รีเลย์)
หม้อลมเบรก
**ระบบเบรกสำหรับรถที่มีเครื่องยนต์ ประกอบไปด้วยรูปแบบหรือฟังค์ชั่นการทำงานของระบบเบรก ดังนี้
Service brake คือเบรกที่ใช้ระหว่างขับรถปกติระหว่างขับรถ สั่งงานด้วยการใช้เท้าเหยียบ
Parking brake เบรกที่ใช้งานเพื่อจอดรถและเบรกที่ใช้เมื่อเครื่องยนต์ขัดข้องหรือเบรกขณะที่มีแรงดันลมต่ำ (Mechanical Spring Brake)
2. รถยนต์ประเภทไม่มีเครื่องยนต์
รถบรรทุกประเภทที่มีเครื่องยนต์นี้ จะมีแหล่งกำเนิดแรงดันระบบลมจากปั๊มลม โดยปั๊มลมสามารถสร้างแรงดันลมด้วยการหมุนขับของเครื่องยนต์
อุปกรณ์ที่สำคัญในการให้กำเนิดแรงดันลมและอุปกรณ์ระบบเบรก ได้แก่
ชุดกรองฝุ่น
ถังลม
วาล์วควบคุมแรงดัน เช่น Protection valve
วาล์วรับคำสั่งระบบเบรก (รีเลย์อีเมอร์เจนซี่)
สปริงเบรกวาล์ว
หม้อลมเบรก
***ระบบเบรกสำหรับรถที่ไม่มีเครื่องยนต์ ประกอบไปด้วยรูปแบบหรือฟังค์ชั่นการทำงานของระบบเบรก ดังนี้
Service brake คือเบรกที่ใช้ระหว่างขับรถปกติระหว่างขับรถ สั่งงานด้วยการใช้เท้าเหยียบหรือมือดึง
Emergency brake เป็นระบบเบรกสำรองที่ออกแบบไว้ใช้งานกับรถเทรลเลอร์ ระบบนี้จะทำงานเมื่อแหล่งจ่ายลมเบรกชำรุดเสียหาย
Parking brake เบรกที่ใช้งานเพื่อจอดรถหรือทำการเบรกขณะที่มีแรงดันลมต่ำกว่าปกติ (Mechanical Spring Brake)
ปริมาตรความจุขั้นต่ำของถังลมที่ใช้กับระบบเบรกพื้นฐานสำหรับรถบรรทุกและเทรลเลอร์ที่เพลาล้อเป็นแบบจานเบรก (Brake Drum)
ตามข้อกำหนดมาตรฐานของ Federal regulations for air brake systems (FMVSS-121) การออกแบบระบบลมต้องสอดคล้องกันระหว่าง สมรรถนะของเพลา ขนาดเบรกที่ใช้งาน วัสดุที่ใช้ในการเบรก ขนาดหม้อลมเบรกและขนาดความจุของถังลม
ในที่นี้จะขอกล่าวถึงเพลารถเทรลเลอร์ที่ใช้ติดตั้งในรถบรรทุกและเทรลเลอร์ในบ้านเราเป็นหลัก โดยส่วนใหญ่จะเป็นเพลาสมรรถนะ 10-13 ตัน ขนาดผ้าเบรก คือ 420x180 ใช้ร่วมกับดรัมเบรก หม้อลมเบรกที่ใช้งานจะมี 2 ขนาด ดังนี้
1.ขนาด T24
2.ขนาด T30
ปริมาตรขั้นต่ำของถังบรรจุลมสำหรับรถบรรทุกและรถเทรลเลอร์ มีดังนี้
1. รถที่มีเครื่องยนต์ เช่น รถโดยสารและรถบรรทุก จะรวมปริมาตรของถังลมทั้งหมด ซึ่งได้แก่ ถังลม Primary / ถังลม Secondary และถังลม Supply จากทั้งหมด โดยปริมาตรความจุรวมของถังลมจะเท่ากับ 12 เท่าของขนาดความจุของหม้อลมเบรก Service ในขณะที่ทำงานเต็มที่
2. รถที่ไม่มีเครื่องยนต์ เช่น รถเทรลเลอร์ โดยปริมาตรความจุรวมของถังลมจะเท่ากับ 8 เท่าของขนาดความจุของหม้อลมเบรก Service ในขณะที่ทำงานเต็มที่
ขนาดความจุของหม้อลมเบรก
ขนาด T24 ; มีขนาดความจุประมาณ 0.97 ลิตร
ขนาด T30 ; มีขนาดความจุประมาณ 1.52 ลิตร
ปริมาณลมใช้งานสำหรับระบบเบรก ( Air volume for braking system)
ปริมาตรความจุขั้นต่ำของถังลมที่ใช้กับระบบเบรก ABS สำหรับรถเทรลเลอร์ที่เพลาล้อเป็นจานเบรก (Brake Drum)
ปริมาตรความจุขั้นต่ำของถังลมที่ใช้กับระบบเบรก EBS สำหรับรถเทรลเลอร์ที่เพลาล้อเป็นจานเบรก (Brake Drum)
**ปริมาตรความจุของถังลมสำหรับรถแต่ละประเภท จะขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งานของรถและการออกแบบที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยเป็นสำคัญ
อัปเดตข่าวสารกับสินค้าใหม่ๆ เกี่ยวกับอะไหล่รถบรรทุกอะไหล่รถพ่วง และรถเทรลเลอร์
สนใจติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
Line: @wellinterparts
Tel: 02-360-8841 ต่อ 202 หรือ 225
Facebook: WIP Well Interparts
ความคิดเห็น