ชิ้นส่วนในรถบรรทุกมีจำนวนมากที่ต้องบำรุงรักษา หากเราดูแลทุกชิ้นส่วนเท่าๆกันหมด เชื่อได้ว่า ทำอย่างไรก็ไม่สามารถดูแลได้อย่างทั่วถึง จึงได้ทำการจัดลำดับความสำคัญของชิ้นส่วนต่างๆ ของรถบรรทุก โดยการวิเคราะห์ FMEA (แบ่งความสำคัญ) เพื่อที่จะเลือกชิ้นส่วนที่มีความสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อการขนส่ง ซึ่งต้องดูแลอย่างใกล้ชิด แก้ไขเร่งด่วน มาทำการวางแผนการซ่อมบำรุง และตัดชิ้นส่วนที่มีความสำคัญน้อยออกไปจากแผนการซ่อมบำรุง โดยมีวิธีการวิเคราะห์ความสำคัญดังนี้
แยกอะไหล่ย่อยแต่ละชนิดออกมาวิเคราะห์ให้หมด
แยกอะไหล่ที่มีการบำรุงรักษาเชิงป้องกันอยู่แล้วออกไปก่อน เช่น การเปลี่ยนน้ำมันเครื่อง การอัดจาระบีล้อ การอัดจาระบีตามจุดสำคัญ
แยกอะไหล่ที่ไม่ส่งผลกระทบต่อการขนส่งไปใช้กลยุทธ์การบำรุงรักษาด้วยผู้ควบคุมเครื่อง (Operation Maintenance) เช่น กระจกมองข้าง ถ้าชำรุดจะไม่ทำให้รถต้องหยุดการขนส่งทันที ผู้ขับรถอาจจะแวะจอดซื้ออะไหล่ข้างทาง แล้วนำมาเปลี่ยนเองได้โดยง่าย
วิเคราะห์ความสำคัญด้วย FMEA (แบ่งความสำคัญ)
แบ่งกลุ่มการบำรุงรักษาตามความสำคัญที่วิเคราะห์ไว้
ดังที่กล่าวมาข้างต้นนั้นเป็นการวิเคราะห์เพื่อแยกระดับความสำคัญเพื่อง่ายต่อการซ่อมบำรุง แต่สำหรับการเช็กระยะชุดเครื่องล่างส่วนมากจะเช็กระยะทุก 100,000 - 120,000 Km หรือ ทุก 6 เดือน ตามสภาพการใช้งาน
รายละเอียดการเช็กระยะ 100,000 - 120,000 Km หรือทุก 6 เดือน มีดังนี้ - ดำเนินการเปลี่ยนจารบี เตรียมไว้ขนาด 5 กก.
- เตรียมน้ำมันก๊าดล้างทำความสะอาดคราบต่างๆ
- ทำการเปลี่ยนบูชยางแขนยึดเฉียง
- ทำการเปลี่ยนบูชยางโตงเตงกลาง
- ทำการตรวจเช็ก ระบบเบรก ผ้าเบรก และระบบไฟต่างๆ
- เช็กซีลล้อ ลูกปืนล้อ หากไม่อยู่ในสภาพใช้งานให้เปลี่ยน
- ทำการตั้งศูนย์ล้อ
เพื่อให้รถใช้งานได้นานและมีประสิทธิภาพ ปลอดภัยและประหยัดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ควรจัดการด้วยระบบการบำรุงรักษาเชิงป้องกันตามระยะเวลาที่กำหนด โดยถือปฎิบัติสม่ำเสมอ
ขอขอบคุณข้อมูลบางส่วนจากคุณอภิชิต มณีงาม
อัปเดตข่าวสารกับสินค้าใหม่ๆ เกี่ยวกับอะไหล่รถบรรทุกอะไหล่รถพ่วง และรถเทรลเลอร์
สนใจติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
Comentarios